ความยั่งยืน

ความยั่งยืน

R&D

ฝ่ายการวิจัยและพัฒนา
  1. การวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

  2. โรงงานผลิต

  3. ศูนย์วิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

บริการด้านเทคนิค

บริการด้านเทคนิค
  1. ห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่

  2. การตรวจสอบคุณภาพน้ำ

  3. การให้คำปรึกษาด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์

  4. การสัมมนา

ผลิตภัณฑ์

ผลิตภัณฑ์
  1. ภาพรวมผลิตภัณฑ์

  2. แคตตาล็อกผลิตภัณฑ์

  3. อาหารฟังก์ชั่ั้นประสิทธิภาพ

  4. อาหารฟังก์ชั่น

  5. ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพสัตว์

เกี่ยวกับเรา

เกี่ยวกับเรา
  1. เรื่องราวของเรา

  2. ภารกิจและวิสัยทัศน์

  3. การจัดการ

  4. งาน

อีเวนต์และข่าวต่างๆ
ปลาดอร์ลี่ ที่เรากิน แท้ที่จริงแล้วคือปลาอะไร
ปลาดอร์ลี่?ชื่อปลาที่ทุกคนคุ้นหูกัน ที่ฟังแล้วดูเหมือนปลาทะเลสายพันธ์นอกราคาแพงหายาก ไม่ว่าจะนำมาทำ ต้มยำปลาดอร์ลี่ ปลาดอร์ลี่ลวกจิ้ม หรือเมนูต่างๆ หลากหลายเมนู แต่เพื่อนๆ รู้กันหรือไม่ว่า ปลาดอร์ลี่แท้ที่จริงแล้ว ลักษณะของตัวปลามันเป็นยังไง
.
ปลาดอร์ลี่ ที่มีเนื้อขาว หน้าตาน่าทาน ที่เราเห็นในเมนูในร้านอาหารเกือบทุกร้าน แต่แท้ที่จริงแล้วมันคือ ปลาสวายขาว แต่คนขายไม่ได้มีจุดประสงค์จะหลอกผู้บริโภค ทุกอย่างเกิดจากความเข้าใจผิด เรื่องราวของปลาสวายขาวเมื่อเข้าสู่วงการถูกเปลี่ยนสายพันธ์ให้เป็น?ปลาดอร์ลี่?มันเป็นอย่างไรนั้น ดูรายละเอียดดังนี้
จากการเปิดโปงโดย สรรค์สนธิ บุณโยทยาน ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์การเกษตร และข้าราชการบำนาญ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่เขียนบทความถึงความเป็นมาจากปลาสวายเนื้อขาว สู่ปลาดอร์ลี่ในปัจจุบัน
.
ใจความโดยสรุปนั้น เขาเผยว่า ผู้ขายระบุชื่อว่าเป็น “ปลาดอร์ลี่แล่” กำกับภาษาอังกฤษว่า Pangasius Fillet (Pangasius Hypopthalmus) เป็นการให้ข้อมูลแบบไม่ครบถ้วนอาจสร้างความเข้าใจผิดว่าเป็นปลาทะเล หรือปลาชนิดใหม่ เปรียบเทียบกับสินค้าชนิดเดียวกันที่อเมริกามีการระบุรายละเอียดชัดเจนว่าเป็นปลาเลี้ยงจากฟาร์มในประเทศเวียดนาม ใช้ชื่อการค้าว่า Swai
.

?จริงๆแล้วคนขายเขาก็ไม่ได้หลอกเพราะเขียนภาษาอังกฤษ พร้อมกำกับด้วยศัพท์วิทยาศาสตร์ไว้เห็นชัดๆว่าPangasius hypophthalmusแต่ผู้บริโภคทั่วไปไม่ทราบว่านี่คือ ปลาสวายธรรมดา?

ทั้งนี้ ความเป็นมาของการแปลงปลาสวายให้กลายเป็นปลาเลิศหรูในชื่อ ปลาดอร์ลี่นั้น มาจากที่ว่าโดยปกติแล้ว เนื้อของปลาดอร์ลี่นั้นจะมีสีเหลืองไม่น่ากิน แต่ปลาดอร์ลี่จากประเทศเวียดนามกลับมีสีขาวอมชมพูน่ารับประทาน ซึ่งเคยมีการเข้าใจผิดในหมู่เกษตกรเพาะเลี้ยงด้วยว่า ปลาดังกล่างนั้นคือปลาเผาะ

เขาเผยว่า เมื่อก่อนนั้น รองนายกรัฐมนตรี พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เคยมีไอเดียการเลี้ยงปลาสวายเนื้อขาว (โดยคิดว่านั่นคือปลาเผาะ) เลยเอามาส่งเสริมที่จังหวัดนครพนมภายใต้แผนยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดผู้ว่าฯ ซีอีโอ เมื่อปี 2547 – 49 เพื่อการส่งออกไปประเทศสเปน ทั้งนี้ตัวเขาเองในฐานะที่เป็นเกษตกรก็ยอมรับว่า เข้าใจผิดว่าปลาสวายเนื้อขาวที่ชาวเวียดนามเลี้ยงคือ “ปลาเผาะ”(Pangasius bocourti) ที่เป็นปลาธรรมชาติอยู่ในแม่น้ำโขง ปลาชนิดนี้ชาวนครพนมรู้จักดีมีเนื้อสีขาวอมชมพู เพราะจับมากินเป็นอาหารชั้นเลิศ เช่น ผัดฉ่า ต้มยำ ขายราคาแพงๆในร้านอาหารดังๆ

แต่โครงการดังกล่าวก็ขาดทุนด้วยเหตุผลด้านรายละเอียดของวิธีการเลี้ยง และความจริงก็เปิดเผยให้รู้โดยทั่วกันว่า ปลาเนื้อขาวนั้นแท้จริงแล้วคือปลาสวาย ทว่าความเข้าใจนั้นก็ยังคงถูกใช้เป็นเครื่องมือโดยพ่อค้าหัวใสที่ตั้งชื่อเนื้อปลานั้นว่า ปลาดอร์ลี่

?คนไทยโดยทั่วไปรังเกียจปลาสวายเพราะเนื้อเหลืองไม่น่ากิน แต่พอไปเจอปลาดอร์ลี่เนื้อออกสีขาวอมชมพูดูสวยงามน่ากิน ก็ยอมจ่ายเงินราคาแพงๆ เพราะคิดว่านี่แหละของดี แต่ที่ไหนได้เข้าใจผิดยิ่งกว่าผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม เมื่อปี 2504?